ร่วมพิธีมอบรางวัลพระราชทาน Ombudsman Awards & Young Ombudsman Awards 2022

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566 ดร.จำนงค์ ตรีนุมิตร หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน พร้อมด้วยนางสาวชุติมา แซ่ตั๊น นักตรวจสอบภายใน เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลพระราชทาน Ombudsman Awards & Young Ombudsman Awards 2022 และการสัมมนาวิชาการผู้ตรวจการแผ่นดินประจำปี พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนแวนเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

ตามที่ได้รับมอบหมายจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จัดโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ และนิสิต นักศึกษา ได้มีส่วนร่วมโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้คัดเลือกได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมพัฒนาและนำเสนอ การปรับปรุงกฎหมาย สร้างนวัดกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ผ่านโครงการ Ombudsman Awards 2022 และ Young Ombudsman Awards

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน นายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พันตำรวจโท กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะจัดพิธีมอบรางวัลถ้วยและโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในงานประกาศผลรางวัลการประกวด “Ombudsman Awards” และ “Young Ombudsman Awards 2022” มอบรางวัลแก่หน่วยงานของรัฐและนิสิต นักศึกษา เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงแนวคิด กระบวนการ เทคโนโลยีดิจิทัลประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและสนองต่อความต้องการ รวมถึงการสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

 

ผลรางวัลชนะเลิศประเภทรางวัล Ombudsman Awards สาขาองค์กรดีเด่นด้านนวัตกรรมการให้บริการประชาชน (Self Initiative Award) ได้แก่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ผลงาน : Rama Telecare นวัตกรรมการบริการสุขภาพทางไกล โดยสร้างและพัฒนาเพื่อติดตามอาการผู้ป่วยที่ติดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการช่วยเหลือ ฟื้นฟู หรือให้ยา การนอนหลับ ฝึกพูดออนไลน์ หรือผู้ป่วยสมองเสื่อม รวมถึงระบบการจัดส่งยาหรือยาเย็น เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว ลดความแออัด และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาล สาขาองค์กรดีเด่นด้านนวัตกรรมการอำนวยความเป็นธรรม (Fairness Innovation Award) ได้แก่ กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กรมประมง ผลงาน : ระบบการออกหนังสือคนประจำเรือ สำหรับแรงงานต่างด้าว (SEABOOK) นวัตกรรมการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบอาชีพประมงทะเลจากการถูกเอาเปรียบจากช่องว่างทางกฎหมาย ปัญหาแรงงานบังคับ และแรงงานเด็กคุ้มครองสิทธิแรงงานและการค้ามนุษย์ เพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจในการส่งออกสินค้าอาหารทะเล

                           ประเภทรางวัล Young Ombudsman Awards ประเภทโครงงานด้านการแก้ไขกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือขั้นตอนใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน ได้แก่ ทีม Justice for Fisherman Labour โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผลงาน : โครงงานการศึกษา เรื่อง แนวทางการลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว ภาคประมงทะเล จังหวัดสมุทรสาคร เป็นผลงานที่มุ่งศึกษา และแสวงหาแนวการลดขั้นตอน การขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว ภาคประมงทะเล และอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานภาคประมง รวมถึงผู้ประกอบการประมงในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ประเภทโครงงานด้นนวัตกรรมเพื่ออำนวยความเป็นธรรมและความสะดวกให้แก่ประชาชน ทีมฉันจะแจ้ง มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงาน : โครงงานการศึกษา เรื่อง “ฉันจะแจ้ง” Chan-Ja-Jang ดิจิตอลแพตฟอร์มเพื่อรับคำร้องเรียน พร้อมด้วยระบบคัดกรองความเกี่ยวข้องในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน การรับเรื่องร้องเรียน ให้เข้าถึงการใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย การรับคำร้องเรียนที่ละเอียด ตรงจุด น่าเชื่อถือ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ สะดวกต่อการใช้งานต่อประชาชนทั่วประเทศ เชื่อมต่อกับแบบฟอร์มเดิมของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินโดยตรง

                           นอกจากนี้ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยังจัดให้มีประเภทรางวัลพิเศษ สำหรับภาคกระทรวงที่ได้ให้การสนับสนุนหน่วยงานในสังกัดในการส่งผลงานเข้าประกวดรางวัล Ombudsman Awards รางวัลระดับทอง กระทรวงมหาดไทย รางวัลระดับเงิน กระทรวงสาธารณสุข และรางวัลระดับทองแดง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประกวดผลงานต่างๆ ผลงานที่ส่งเข้าประกวดและผ่านเข้ารอบจะมีการตรวจประเมิน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น โดยหน่วยงานจะต้องจัดทำเอกสารรายงานให้ถูกต้องและครบถ้วน ตามแบบฟอร์ม และเงื่อนไขที่ได้กำหนด หากหน่วยงานจัดทำรายงานไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนจะไม่รับพิจารณาตรวจประเมินในขั้นต่อไป ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบตามเงื่อนไข และตามขอบเขตของสาขาองค์กรดีเด่น ทั้ง 2 ด้าน ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่ โดยคณะกรรมการตรวจการประเมินจะพิจารณาเอกสารและการนำเสนอผ่านระบบประชุมออนไลน์ ในขั้นตอนนี้คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานที่มีคะแนนสูงสุดตามลำดับ จำนวน 8 หน่วยงาน ขั้นตอนที่ 3 เป็นการพิจารณาผลการปฏิบัติจริง โดยคณะกรรมการจะลงไปตรวจประเมินผลงานในพื้นที่จากการปฏิบัติงานจริงของหน่วยงาน มีการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและประเมินผล ซึ่งผลการตรวจประเมินและคุณภาพของงาน จะเรียงลำดับจากคะแนนสูงสุดตามลำดับ จำนวน 4 หน่วยงาน เพื่อเสนอคณะกรรมการตัดสินรางวัล การมอบรางวัล แบ่งออกเป็น 4 อันดับ รางวัลชนะเลิศ ต้องมีผลการประเมินจากการตรวจด้านเอกสารและประเมินการปฏิบัติจริง มีคะแนนสูงสุด และมีคะแนนไม่น้อยกว่า 85 คะแนน จึงจะได้รับรางวัล ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 อันดับ 2 และอันดับ 3 ต้องมีผลการประเมินจากการตรวจด้านเอกสารและประเมินการปฏิบัติจริง มีคะแนนสูงสุด และมีคะแนนไม่น้อยกว่า 75 คะแนน จึงจะได้รับรางวัล  

ทั้งนี้ ภายในงานยังมีนิทรรศการจากมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก ทัณฑสถานหญิงกลาง และกรมราชทัณฑ์รวมถึงการสัมมนาวิชาการผู้ตรวจการแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2566 หัวข้อ “ผู้ตรวจการแผ่นดินร่วมสืบสานพระปนิธานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรมหาวัชรราชธิคา เพื่อการพัฒนาระบบงานยุติธรรมนระดับชาติ และการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” โดยศาสตราจารย์พิเศษ ตร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ที่ปรึกษาพิเศษสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาขน) เป็นผู้กล่าวเปิดการเสวนา รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย หัวข้อ “บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่ออำนวยความเป็นธรรมในสังคม” โดยนายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน หัวข้อ “ความยุติธรรมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People – Centered Justice)” โดยผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อ “การข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประขาชนและการพัฒนากระบวนการยุติธรรม” โดยดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดีสำนักงานอัยการสูงสุด และหัวข้อ “ทิศทางและประเด็นการพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อม การศึกษาการสาธารณสุข และการพัฒนาในภาพรวมของประเทศไทย” โดย ดร.สมชัย จิตสุขน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึงสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ขอบคุณรูปภาพจาก สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน